อุปกรณ์กระจายสัญญาณ หรือ Switch (สวิตช์) เป็นอุปกรณ์ที่สำคัญในการใช้งานระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ณ ปัจจุบัน เนื่องจากเป็นเหมือนกับเส้นทางการส่งข้อมูล ไม่ต่างอะไรกับถนนที่เชื่อมต่อไปยังสถานที่ต่าง ๆ ถือว่าเป็น Infrastructure ที่เป็นปัจจัยสำคัญในการดำเนินธุรกิจ
อุปกรณ์นี้เอง มีหลาย ๆ แบรนด์ ได้ทำฟีเจอร์นึงชื่อว่าการทำ Stacking ซึ่งการทำ Stacking บน Switch มีประโยชน์และความสำคัญที่ผมรวบรวมตามประสบการณ์มาได้ดังต่อไปนี้นะครับ
1. มีความยืดหยุ่น และความสามารถในการขยาย: สามารถเพิ่มจำนวนสวิตช์ในระบบได้โดยไม่ต้องตั้งค่าทีละตัว ทำให้เจ้าหน้าที่ดูแลระบบจัดการง่าย
2. การจัดการแบบรวมศูนย์: ควบคุมสวิตช์หลายตัวจาก IP เดียว ลดภาระการบริหารจัดการ
3. เพิ่มความน่าเชื่อถือ (Reliability): หากสวิตช์ใดเกิดเสีย ใช้งานไม่ได้ สวิตช์อื่นจะยังคงทำงานได้ ทำให้เครือข่ายมีเสถียรภาพสูงขึ้นครับ
4. เพิ่ม Bandwidth: ใช้ลิงก์หลายเส้นร่วมกันเพื่อเพิ่มความเร็วในการรับส่งข้อมูล
อุปกรณ์ของ Cisco ในรุ่นที่เป็น Small Business ดังที่ได้กล่าวไปแล้วจากบทความที่ผ่านมานั้น เป็น Switch รุ่นใหม่ โดยเฉพาะรุ่น Catalyst1300 ที่จะนำเป็นตัวอย่างในการทำคอนฟิกให้ดูนะครับ https://www.ablenet.co.th/2024/10/18/cisco_c1200_c1300
เรามาดูแต่ละรุ่นของ Catalyst 1300 ด้วยกันนะครับ ว่ารองรับการเชื่อมต่อ Uplink/Downlink แบบใดกันบ้าง โดยตัว C1300 จะรองรับการทำ Stack ผ่านพอร์ต 1Gig, 10Gig และ mGig ได้ (แตกต่างจากรุ่น C9200/C9300 ซึ่งจะมี Stack Cableโดยเฉพาะ) และสามารถ Stack กันได้ทั้งหมด 8 ตัว โดย Firmware จะต้องเป็นอย่างน้อย version 4.1.0.72 ครับ
Note. สำหรับการเชื่อมต่อเพื่อทำ Stack นั้น จะมีรายละเอียดดังนี้
1G และ mGig Downlink สามารถ Stack ด้วยกันได้
10G Downlink สามารถ Stack ด้วยกันได้
1G/mGig จะไม่สามารถ Stack กับ 10G ได้
วิธีการทำ Stacking บน Catalyst1300 ทำได้ดังนี้ครับ
1.ตรวจสอบว่าอุปกรณ์ Switch ที่จะนำมา Stack ทั้งหมดเป็น version อะไร ตามตัวอย่างภาพด้านล่างนี้ ทั้ง 2 อุปกรณ์มี Firmware ที่เหมือนกันคือ version 4.1.0.76 ซึ่งสูงกว่า 4.1.0.72 ตามที่ Cisco แนะนำไว้ หากต่ำกว่า หรือ Firmware ไม่ตรงกันควรอัพเกรด Switch ทุกตัวให้หมดก่อนครับ
Note. ไม่ต้องเชื่อมสาย Stack เข้าหากันก่อนนะครับ เพื่อป้องกันเรื่องของ Loop ที่จะเกิดขึ้นครับ
2.ไปยังเมนู Administration>Stack Management และเลือกพอร์ตที่เป็น Downlink ในการทำ Stack จากนั้นไปเลือก Unit ID After Reset เป็น 1 ส่วนตัวที่ 2 ก็เลือกเป็น Unit ID After Reset เป็น 2 นั่นเองครับ จากนั้นก็คลิ๊ก Apply and Reboot
3.เมื่อเราคลิ๊กปุ่ม Apply and Reboot ตัว Switch จะทำการ Reboot หลังจากนั้นให้เราทำการ Login และเข้าไปตรวจสอบ Status ของอุปกรณ์ได้ จากภาพด้านล่าง จะสังเกตได้ว่ามี Switch ทั้ง Unit 1 และ Unit 2 ขึ้นมาเรียบร้อยแล้ว
4.ตรวจสอบสถานะ โดยไปยังเมนู Status and Statistics>System Summary เราจะเห็นว่า มีหน้า Front ของ Switch ที่เราทำการ Stack ไว้ โดยยังไม่ใช้สายเชื่อมต่อก่อนนะครับ หลังจากเมื่อ Reboot และตรวจสอบสถานะเรียบร้อยตามภาพด้านล่างนี้แล้ว ให้เราทำการเชื่อมต่อสาย Downlink เข้าหากันในการทำ Stack นั่นเองครับ หลังจากนี้ก็สามารถกดปุ่ม Save Icon สีแดง ที่อยู่ด้านบน เป็นอันจบเรื่องการคอนฟิกทั้งหมดของการทำ Stack ครับ
ในโลกของเครือข่ายคอมพิวเตอร์ การทำ Pair หรือ HA นี่คือกุญแจสำคัญในการใช้งานที่จะไม่ให้ระบบหยุดชะงักไป และ Catalyst1300 เป็นอีกคำตอบนึงสำหรับธุรกิจขนาดกลางไปถึงเล็ก ที่สามารถนำไปใช้งานได้ครับ
หากต้องการใช้งานอุปกรณ์ Cisco รุ่น Catalyst1200, 1300 ก็สามารถติดต่อสอบถามตัวแทนจำหน่ายใกล้บ้านของท่านได้ครับ ใกล้ที่ไหน สะดวกที่ไหน ไปที่นั่นครับ หรือจะติดต่อสอบถามทางเทคนิคซึ่งทางเราก็ยินดีครับ เราเป็น Cisco Outsource ที่ทำงานเกี่ยวกับการคอนฟิก และติดตั้ง Cisco Solutions มามากมายหลายเทคโนโลยี เชื่อว่าเราจะเป็นส่วนนึงช่วยให้หน่วยงานของท่านประสบความสำเร็จในการดำเนินธุรกิจได้ครับ
Mobile: 098 859 9000