
อุปกรณ์กระจายสัญญาณเครือข่ายคอมพิวเตอร์ (Switch) ในระดับ Small Business ซึ่งรองรับการใช้งานธุรกิจระดับเล็กไปจนถึงระดับกลาง การใช้งานทั่วไปตามโรงเรียน โรงงานอุตสาหกรรม โรงพยาบาล โรงแรม โรงพัก โรงจำนำ หรือ โรง ๆ ทั้งหลายแหล่ แบบนี้สามารถนำอุปกรณ์สวิตช์ที่เป็นแบบ Small Business ไปใช้งานได้ครับ
Cisco เองได้มีผลิตภัณฑ์ที่ออกมาใหม่เพื่อตอบสนองกับการใช้งานในธุรกิจเล็กและกลางนั่นคือรุ่น Cisco Catalyst 1200 และ 1300 ครับ ข้อแตกต่างที่ชัดเจนก็คือ
1.ตัว 1200 สามารถทำ static routes ได้ 32 เส้นทาง และสร้าง IP interfaces ได้ 16 ไอพี แต่ ตัว 1300 สามารถทำได้ถึง 990 static routes และสร้าง IP interfaces ได้ 128 ไอพีกันเลยทีเดียวครับ หากใครมี VLAN ที่มากกว่า 16 VLANs แนะนำให้เอาตัว 1300 วางเป็น Core Switch ครับ (User ต้องระดับไม่เกิน 500 Users นะครับ) อีกทั้งตัว 1300 รองรับการทำ dynamic route แบบ RIP ครับ
2.ตัว 1200 รองรับ mac address table จำนวน 8,000 ส่วน 1300 รองรับจำนวน 16,000 มากกว่า 2 เท่าตัวครับ
3.ตัว 1200 ไม่รองรับการทำ stacking ส่วน 1300 ทำได้ หากใครต้องการบริหารจัดการด้วยไอพีเดียวกันโดยการใช้สวิตช์หลาย ๆ ตัว ก็ต้องเลือก 1300 ไปนะครับ
ประมาณนี้คร่าว ๆ นะครับ แต่ถ้ารายละเอียดเพิ่มเติมสามารถไปหาอ่านได้จาก datasheet ของอุปกรณ์ตามด้านล่างนี้ครับ
Switch 1200 Series
https://www.cisco.com/c/en/us/products/collateral/switches/catalyst-1200-series-switches/nb-06-cat1200-ser-data-sheet-cte-en.html
Switch 1300 Series
https://www.cisco.com/c/en/us/products/collateral/switches/catalyst-1300-series-switches/nb-06-cat1300-ser-data-sheet-cte-en.html
เราลองไปดูวิธีการเริ่มต้นตั้งค่า (configure) Cisco Catalyst 1200 และ 1300 Series Switch ซึ่งทั้ง 2 ตัวสามารถใช้ CLI ที่เหมือนกันได้เลย สามารถทำได้ตามขั้นตอนพื้นฐานดังนี้นะครับ
1. การเชื่อมต่อกับ Switch
เราสามารถเชื่อมต่อกับ Cisco Switch ผ่านพอร์ต Console นะครับ ซึ่งทั้ง 1200 และ 1300 สามารถใช้ Console ที่เป็นหัว RJ45 หรือ USB Type C ก็ได้ครับ
- Console Port: ใช้สาย console cable เพื่อเชื่อมต่อ switch กับคอมพิวเตอร์ จากนั้นใช้ terminal emulator เช่น PuTTY, Xshell หรือ MobaXterm เพื่อเข้าสู่ switch
2. เข้าสู่โหมดการตั้งค่า
เมื่อเชื่อมต่อแล้ว ให้เริ่มต้นด้วยการเข้าสู่โหมด privileged exec (enable mode
) โดยใช้คำสั่ง
จากนั้นเข้าสู่โหมดการตั้งค่าทั่วไป (Global Configuration Mode) ด้วยคำสั่ง
Switch# configure terminal
3. การตั้งค่า IP Address สำหรับการจัดการ (Management IP)
ตั้งค่า IP Address บนอินเตอร์เฟส VLAN 1 เพื่อใช้สำหรับการจัดการ switch ผ่านเครือข่าย
จากนั้นกำหนด gateway สำหรับการเข้าถึงเครือข่ายภายนอก
Switch(config)# ip default-gateway 192.168.1.1
4. การตั้งค่า SSH
ถ้าคุณต้องการใช้งาน SSH สำหรับการเข้าถึง switch คุณต้องเปิดการใช้งาน SSH ดังนี้
- สร้าง key RSA
- กำหนดเวอร์ชั่นของ SSH ที่จะใช้
- สร้าง username และ password
- กำหนด line VTY เพื่อให้รองรับ SSH
5. การบันทึกการตั้งค่า
อย่าลืมบันทึกการตั้งค่าเพื่อไม่ให้หายไปเมื่อ switch ถูกรีบูต
Switch# write memory
6. การตั้งค่าเพิ่มเติม
- VLAN: ถ้าคุณต้องการตั้งค่า VLAN เพิ่มเติม
- Interface Configuration: คุณสามารถกำหนด interface เพื่อใช้งาน VLAN ที่ตั้งไว้ได้
- Spanning Tree Protocol (STP): เปิดใช้งาน STP เพื่อป้องกันการเกิด loop ในเครือข่าย
7. ตรวจสอบการตั้งค่า
หลังจากตั้งค่าเสร็จแล้ว เราสามารถตรวจสอบการตั้งค่าได้ด้วยคำสั่ง
Switch# show running-config
Switch# show ip interface brief
Switch# show vlan brief
สรุป
การตั้งค่า ตามที่เราเห็นก็จะเป็น CLI ที่คล้าย ๆ กับ Catalyst Switch รุ่นที่ผ่านมาเลยใช่ไหมครับ หลายคนก็คงคุ้นเคยกับ Command เหล่านี้อยู่แล้ว ก็จะใช้งานได้ง่ายขึ้น ส่วนท่านใดยังไม่คุ้นเคยแนะนำว่าใช้เป็น Web GUI ก็ได้ ก็มีหน้าตาที่สวยงามเช่นเดียวกันครับ ตามรูปภาพด้านล่างเลยนะครับ
หากใครจะเข้า Default IP ของอุปกรณ์ก็จะเป็น 192.168.1.254 และ user/password ก็คือ cisco/cisco นั่นเองครับ ลองนำไปเล่นกันดูและติดตามบทความอัพเดทใหม่ ๆ สำหรับ System and Network Engineer ได้ใหม่ในทุกสัปดาห์นะครับ ขอบคุณครับ
Mobile: 098 859 9000