ในโลกของการจัดการระบบไอทีที่มีการเติบโตอย่างรวดเร็ว การจัดเก็บข้อมูลที่มีประสิทธิภาพและความน่าเชื่อถือเป็นสิ่งที่มีความสำคัญอย่างยิ่ง โดยเฉพาะในสภาพแวดล้อมที่ต้องการความยืดหยุ่นและการขยายตัวของระบบอย่างเช่นในองค์กรต่างๆ การใช้ระบบจัดเก็บข้อมูล SAN (Storage Area Network) อย่าง HPE MSA 2040 จึงกลายเป็นทางเลือกที่ได้รับความนิยมอย่างแพร่หลาย เนื่องจากความสามารถในการรองรับการทำงานที่หลากหลายและประสิทธิภาพสูง
การสร้าง Disk Group บน MSA 2040 ถือเป็นขั้นตอนสำคัญในการจัดสรรและจัดการพื้นที่จัดเก็บข้อมูลที่มีความจุสูง พร้อมด้วยความสามารถในการปกป้องข้อมูลและเพิ่มประสิทธิภาพในการเข้าถึงข้อมูล นอกจากนี้ การนำ Disk Group ไปใช้งานร่วมกับ VMware ESXi ซึ่งเป็นแพลตฟอร์มการจำลองเสมือนที่มีความยืดหยุ่นและมีการใช้งานอย่างแพร่หลายในองค์กร ยังช่วยเสริมสร้างความคล่องตัวในการบริหารจัดการระบบไอทีและเพิ่มความสามารถในการปรับตัวตามความต้องการของธุรกิจ
บทความนี้จะนำเสนอขั้นตอนในการสร้าง Disk Group บน MSA 2040 รวมถึงวิธีการปรับใช้ Disk Group ดังกล่าวบน VMware ESXi เพื่อช่วยให้ผู้ดูแลระบบสามารถตั้งค่าระบบจัดเก็บข้อมูลที่มีประสิทธิภาพและรองรับการทำงานของเซิร์ฟเวอร์ในองค์กรได้อย่างมีประสิทธิผล สามารถดูขั้นตอนและวิธีการจากบทความด้านล่างได้เลยครับ
การสร้าง Disk Pools และการ MAP ใช้งานกับ ESXi
1.1 Login เข้า MSA 2040 SAN ไปยังเมนู Pools > Action > Add Disk Group
1.2 ทำการตั้งค่า Disk Group โดยมีรายละเอียดดังต่อไปนี้
1.2.1 เลือก Type โดยให้เป็นค่า Default ไว้คือ Virtual
1.2.2 Name สามารถตั้งชื่อของ Disk Group ได้ตามต้องการ
1.2.3 เลือก Pool โดยสามารถเลือกเป็น Pool A หรือ B
1.2.4 RAID Level ตั้งค่า RAID ว่าต้องการให้ Disk Group ที่สร้างเป็น RAID อะไรโดยในที่นี้จะเลือกเป็น RAID 6
1.2.5 ทำการเลือก Disk ที่จะให้เข้ามาอยู่ใน Group
1.2.6 จากนั้นทำการกด Add
เมื่อทำการกดดูที่ POOLS ก็จะเห็นข้อมูล Disk Group ที่ได้ทำการสร้างไว้
1.3 สร้าง Volumes
Volumes หมายถึงพื้นที่จัดเก็บข้อมูล (storage space) ที่จัดสรรไว้สำหรับการจัดเก็บข้อมูลภายในระบบจัดเก็บข้อมูล (storage system) ของ MSA 2040 โดย Volumes จะถูกสร้างขึ้นจากกลุ่มของดิสก์ที่เรียกว่า Disk Groups สามารถถูกนำไปใช้งานโดยเซิร์ฟเวอร์หรืออุปกรณ์อื่นๆ ผ่านการเชื่อมต่อเครือข่ายแบบ Fibre Channel, iSCSI, หรือ SAS ดั้งค่าได้โดยไปที่ Volumes > Action > Create Virtual Volumes
โดยตั้งค่าดังขั้นตอนต่อไปนี้
1.3.1 Volume Name = เป็นการกำหนดชื่อของ Volume ตามที่เราต้องการ
1.3.2 Size = เป็นการกำหนดขนาดของ Volume ที่สร้างเช่นขนาด 2TB ดังในตัวอย่าง
1.3.3 Number of Volumes = 1
1.3.4 Preference = No Affinity
1.3.5 Pool = เลือก Pool ที่เราต้องการว่าจะทำการสร้าง Volume บน Pool ไหน
1.3.6 สามารถกด Add Row เพื่อสร้าง Volume อื่นๆไปพร้อมกันได้จากนั้นทำการกด OK
1.4 Map Volumes
เป็นการกำหนดและเชื่อมโยง Volumes ที่สร้างขึ้นภายในระบบจัดเก็บข้อมูลให้กับเซิร์ฟเวอร์ ESXi โดยไปที่ Volumes > คลิกที่ Volume ที่สร้างไว้ > Action > Map Volumes
จากนั้นทำการเลือก ESXi หรือ Host ที่ต้องการ(กด Shift เพื่อเลือกหลายๆอันพร้อมกันได้)แล้วกดที่ Map และ Apply ระบบจะแจ้งเตือนถามอีกครั้งว่าต้องการ Map Volume กับ Host ที่เลือกใช่หรือไม่ให้กด Yes
2. สร้าง Datastore บน ESXi จาก Volume ที่สร้างขึ้นมา
2.1 ทำการ Login เข้า ESXi แล้วไปยัง Storage > Adapters > Rescan
2.2 สร้าง Datastore โดยไปยัง Storage > Datastores > New datastore
เลือก Creation type เป็น Create new VMFS datastore กด Next
เลือก device เป็น Volume ที่เราทำการสร้างไว้และ Map มายัง ESXi และทำการตั้งชื่อของ Datastore จากนั้นกด Next
ตั้งค่า Partition โดยส่วนนี้ใช้เป็นค่า default ได้เลยคือใช้เป็น Full disk และเป็น VMFS 6 จากนั้นกด Next
จากนั้นกด Finish เป็นอันเสร็จโดยเราจะเห็น Datastore ที่สร้างเมื่อสักครู่ปรากฎขึ้นมา
วิธีการและขั้นตอนไม่ซับซ้อนอย่างที่คิดใช่ไหมครับ หลังจากนี้ก็สามารถนำ Datastore ที่สร้างขึ้นไปใช้งานได้ทันที หวังว่าบทความนี้จะเป็นประโยชน์และช่วยเสริมสร้างความเข้าใจให้กับทุกท่านที่เข้ามาอ่านนะครับ