โดยปกติ เมื่อเราขึ้น Server และมีการสร้าง VM สำหรับใช้งานเสร็จแล้ว admin ส่วนใหญ่จะไป custom ในส่วนของการ fix ip address, set DNS หรืออะไรก็ตามที่เป็นการ custom ในระดับ OS ของ VM นั้นๆ โดยจะไม่ได้ไปยุ่งกับ Type ของ Network Adapter มากนัก ซึ่งในบางกรณี เราจำเป็นต้อง Manual เลือก Type ของ Network Adapter เป็นชนิดด้วยตัวเอง เพื่อให้ตัว VM สามารถทำงานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ แล้วกรณีไหนล่ะ ถึงควรจะเลือก Type ไหน
บทความนี้ แอดจึงจะมาแนะนำหนึ่งใน Type ของ Network Adapter นั่นคือ VMXNET3 ว่าควรต้องใช้ในกรณีไหน และถ้าไม่ใช้ จะส่งผลกระทบต่อ VM นั้นอย่างไร พร้อมทั้งแนะนำวิธีตั้งค่า Network Adapter อย่างละเอียด ถ้าพร้อมกันแล้ว สามารถติดตามเนื้อหาของบทความได้เลยครับ
ทำไมต้อง VMXNET3?
VMXNET3 เป็นชนิดหนึ่งของ Network Adapter ซึ่งเป็นการจำลอง vNIC ที่มีขนาดตั้งแต่ 10GB ขึ้นไป โดยส่วนใหญ่จะใช้เมื่อ Uplink ที่เสียบมายัง Server มีขนาดใหญ่กว่า 10GB ขึ้นไป
หลายคนอาจมีข้อสงสัยว่า “แล้วถ้าลิงค์ 10GB แต่ไม่อยากเปลี่ยน Network Adapter Type เป็น VMXNET3 จะเกิดอะไรขึ้น?”
คำตอบคือ VM ที่ใช้งาน อาจมีการทำงานของ Network ที่ไม่เสถียร เนื่องจากขนาดของ Uplink กับ vNIC ของ VM ที่จำลองขึ้นมา ไม่ match กัน จึงจำเป็นต้องมีการปรับค่าเล็กน้อย โดยมีวิธีการดังนี้
1. สังเกตว่าเมื่อทำการ ping ไปที่ VM เป้าหมาย จะมีอาการ ping ขาดเป็นช่วงๆ ไม่มี pattern ที่ตายตัว และได้ทำการ troubleshooting เบื้องต้นไปทั้งหมดแล้ว แต่ยังไม่สามารถแก้ไขได้
2. ทำการ power off VM ดังกล่าว จากนั้นคลิกที่ Edit Settings
**ให้ทำการ note ip address, subnet, default gateway, DNS server ให้เรียบร้อยก่อน กรณีที่ VM มีการ Fix IP Address**
3. uncheck Connect จากนั้นคลิก กากบาท ( x ) เพื่อทำการลบ Network Adapter เดิมที่มีปัญหาออก
4. คลิก ADD NEW DEVICE > Network Adapter เพื่อทำการเพิ่ม Network Adapter ใหม่ แทนที่ของเก่าที่มีปัญหา
5. คลิกที่ Network Adapter ใหม่ จากนั้นเลือก Adapter Type เป็น VMXNET3 > คลิก OK
6. ทำการ Power VM > คลิก Console
7. Configure Network Adapter ตัวใหม่ที่ทำการ Add เข้าไป โดยอ้างอิงจากรายละเอียดจากของเดิมที่ทำการ Note ไว้ก่อนจะลบออก
8. ปัญหาได้รับการแก้ไขเรียบร้อย
เป็นอย่างไรกันบ้างครับกับการเลือกใช้งาน Network Adapter Type VMXNET3 พอจะมีประโยชน์กับการบริหารจัดการ VM ของทุกคนบ้างรึเปล่า
หากเห็นว่าบทความนี้มีประโยชน์หรือมีข้อเสนอแนะใดๆ สามารถเข้ามา Comment ได้ที่ Facebook FanPage Ablenet ตามลิงค์นี้ได้เลยครับผม