เราเตอร์ Cisco แตกต่างจากเราเตอร์ยี่ห้ออื่น ๆ หนึ่งในนั้นคือคุณสมบัติของเราเตอร์ที่ค่อนข้างสมบูรณ์ โดยเราเตอร์ จะมีเรื่องของความปลอดภัย ความเสถียร การค้นหาหรือการปรับเปลี่ยนเส้นทางตามโปรโตคอล และประสิทธิภาพการจัดส่งข้อมูลที่ดี
เทคโนโลยีเราเตอร์ขั้นสูงของ Cisco ช่วยให้เราสามารถสร้างเครือข่ายขนาดใหญ่ที่มีโครงสร้างเครือข่ายที่ซับซ้อน ทั้งอินทราเน็ตและอินเทอร์เน็ตได้ และหนึ่งในคุณลักษณะของเราเตอร์คือการแจกค่าไอพีให้กับอุปกรณ์ปลายทาง หรือเราเรียกว่าการทำ DHCP Server
ในการทราบวิธีการตั้งค่าเราเตอร์ Cisco เพื่อการทำ DHCP Server (Dynamic Host Configuration Protocol) เป้าหมายคือเพื่อให้คอมพิวเตอร์ไคลเอนต์บนเครือข่ายภายใน (LAN) รับ IP Address โดยอัตโนมัติโดยไม่จำเป็นต้องตั้งค่าด้วยตนเอง
ดังนั้นเราจึงต้องการเซิร์ฟเวอร์ ไม่เพียงแค่เราเตอร์ที่สามารถแจกจ่าย IP Address ให้กับคอมพิวเตอร์ไคลเอนต์ได้เท่านั้น อุปกรณ์ที่เป็น Layer 3 Device ก็สามารถทำได้เช่นกัน ไม่ว่าจะเป็น Firewall, Layer3 Switch ซึ่งทำหน้าที่เป็น Core Switch
บทความนี้จะแสดงการตั้งค่าในเราเตอร์ และ Layer3 Switch กันครับ ซึ่งจะมีลักษณะที่เหมือนกันทุกประการ
ตามด้านล่างนี้จะเป็นวิธีการตั้งค่าเราเตอร์ DHCP สำหรับ Cisco ซึ่งเป็นตัวอย่าง เราสามารถดู Network Topology ตามด้านล่างนี้ได้ครับ
จากภาพ Diagram จะใช้ Router รุ่น Cisco4321 ทำหน้าที่เป็น DHCP Server เพื่อแจกไอพีให้กับอุปกรณ์ปลายทางทั้ง 3 ตัว โดยจะแจกวง 192.168.10.0/24 โดยเริ่มแจกไอพีตั้งแต่ 192.168.10.11 เป็นต้นไป
การสร้าง DHCP Server นั้น มีองค์ประกอบที่สำคัญทั้งหมด 4 ประการคือ
1. IP Address ที่ต้องการแจกให้กับอุปกรณ์ปลายทาง
2. Subnet Mask ที่ต้องการแจกให้กับอุปกรณ์ปลายทาง
3. Gateway ของอุปกรณ์ปลายทาง
4. DNS Server เพื่อให้อุปกรณ์สามารถ Resolve Name เพื่อค้นหา IP ไปยัง Website ต่าง ๆ เพื่อออกสู่อินเตอร์เน็ตได้
Router>enable
Router#conf t
Enter configuration commands, one per line. End with CNTL/Z.
Router(config)#ip dhcp pool AbleNet_Client
Router(dhcp-config)#network 192.168.10.0 255.255.255.0
Router(dhcp-config)#default-router 192.168.10.1
Router(dhcp-config)#dns-server 8.8.8.8 8.8.4.4 //สามารถเว้นวรรค และทำการใส่ DNS Server ต่อไปได้
Router(dhcp-config)#exit
Router(config)#ip dhcp excluded-address 192.168.10.1 192.168.10.10 //ยกเว้น IP ไม่แจกออกไปตั้งแต่ 192.168.10.1 – 192.168.10.10
การตรวจสอบค่าใน PC
เมื่อเสร็จแล้วลองไปตรวจสอบดูด้วยกันในแต่ละ PC นะครับ โดยปรับค่าเครื่องคอมพิวเตอร์ให้เป็น DHCP หรือหากเป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ของเราบน Windows ก็ปรับเป็นค่า Obtain IP นั่นเองครับ ตามด้านล่างจะสังเกตว่า IP Address ที่ได้รับเป็น 192.168.10.11 และ Gateway ที่ได้คือ 192.168.10.1 นั่นเองครับ
การตรวจสอบในเราเตอร์
ตรวจสอบเราเตอร์ซึ่งเราสามารถดูได้โดยพิมพ์คำสั่งตามตัวอย่างด้านล่างนี้ครับ
show ip dhcp pool เพื่อตรวจสอบดู pool ทั้งหมดที่ได้ตั้งค่า DHCP จะเห็นได้จากด้านล่างว่ามีแจกไอพีไป 1 ตัว
show ip dhcp binding เพื่อแสดง Client ที่รับไอพีไป เราจะสังเกตเห็น Mac Address ของ Client นั้น ๆ ด้วยเช่นเดียวกัน Type จะเป็นแบบ Dynamic เนื่องจากไม่มีการ fix ip บน DHCP Server ส่วน Lease Expiration โดย Default แล้วจะอยู่ที่ 24 ชั่วโมงหรือ 1 วันครับ
นี่คือการตั้งค่าเบื้องต้นของ DHCP บนเราเตอร์, Layer3 Switch นะครับ ซึ่งเราสามารถเพิ่มการตั้งค่าเพิ่มขึ้นเช่น ให้เคลียร์ไอพีทุก ๆ 6 ชั่วโมงได้ โดยเพิ่มคำสั่ง lease ตามตัว 0 6 เข้าไปเป็น โดยจะลำดับหน่วยเป็น วัน ชั่วโมง นาที ตามลำดับนั่นเองครับ ตัวอย่างเพิ่มเติมเช่น หากเราต้องการเคลียร์ไอพี เพื่อจะได้ใช้สำหรับการขอ DHCP เข้ามาเรื่อย ๆ อยู่ที่ 30 นาที ก็จะต้องใช้คำสั่ง lease 0 0 30 นั่นเองครับ
หรือจะเป็นการทำ DHCP option เพื่อแจกให้กับอุปกรณ์ปลายทางที่ชี้ไปยัง IPBX หรือ Wireless LAN Controller เช่น option 150, option 43 เป็นต้น
Note. คำสั่ง lease และ option จะทำภายใต้ dhcp pool configuration ตามแต่ละ Network นั้น ๆ ครับ
#DHCP #Cisco #Router #CatalystSwitch