ฉลองครบรอบ 10 ปี Cisco UCS Server
เรามาไล่ดูวิวัฒนาการของ Cisco UCS Server ตั้งแต่อดีต ถึงปัจจุบันกันดูครับ
ปี 2007
– ผู้เริ่มต้นพัฒนา FCoE (รองรับ 10Gbps ด้วย Fibre Channel over Ethernet) และตัวการ์ด CNA (Converged Network Adapters)
ปี 2009
– กำเนิด Cisco Unifed Computing System (Cisco UCS) ซึ่งเน้นการใช้งานกับงาน Virtualization และการใช้งาน Remote KVM ซึ่ง Cisco เรียกว่า CIMC (Cisco Integrated Management Controller) ฟรีโดยไม่ต้องจ่ายค่า license เพิ่มเติม
– ปล่อย UCS Manager สำหรับบริหารจัดการ Blade Server, Rack Server และ UCS Fabric Interconnect
– จับมือกับ VMware, EMC ทำ vBlock ที่ชื่อว่า VCE (VMware Cisco EMC) โดยใช้ UCS rack server มา Integrate กันระหว่าง Server, Storage และ Virtual Machine เรียกได้ว่า 3 Vendor หลักใน Datacenter มารวมตัวกัน
ปี 2010
– ปล่อย UCS generation 2 หรือ UCS M2
– จับมือกับ NetApp ใช้ solution ที่ชื่อว่า FlexPod ทำ Converged Infrastructure
ปี 2011
– เริ่มปล่อย fabric interconnect 96 พอร์ต เป็น FI generation ที่ 2 สำหรับ Datacenter Scale ใหญ่ ๆ
ปี 2012
– ปล่อย UCS generation 3 หรือ UCS M3
– UCS Central Software ใช้ในการบริหารจัดการ เป็น Single Management Console
– มีลูกค้าที่ใช้งาน UCS ครบ 7,500 ราย
ปี 2013
– Cisco UCS จัดเป็น Top5 vendors ของกลุ่ม Server
– Cisco UCS Director สำหรับไปคุม Cisco UCS Manager หลาย ๆ ตัวอีกที เพื่อง่ายในการจัดการบริหาร คล้ายกับ vCenter ไปคุม ESXi อีกทีนั่นเอง
ปี 2014
– ขึ้นอันดับ #1 in ตลาดx86 blade server ในแถบ North American (ประเทศแคนานดา และสหรัฐอเมริการ) และเป็น Leader ใน Gartner Magic Quadrant
– ปล่อย UCS generation 4 หรือ UCS M4
– ปล่อย UCS Mini ซึ่งเป็น Blade Server และสามารถบริหารจัดการจากส่วนกลางได้
– ปล่อย VersaStack ซึ่งเป็นการ Integrate รวมตัวกันระหว่าง Cisco และ IBM Storwize ซึ่งเป็น Storage
ปี 2015
– ปล่อย FlashStack เป็นการ Integrate รวมตัวกันก้บ Pure Storage ซึ่งเสนอ all-flash storage ตัว Harddisk เป็น SSD (Solid State Disk) ทั้งหมด ในรูปแบบของ Converged Infrastructure
ปี 2016
– Cisco ผลิตสวิตช์ที่มี speed ความเร็ว 40-Gbps fabric interconnects มาเพื่อใช้งานใน Datacenter
– ปล่อย Cisco HyperFlex เรียกได้ว่าเป็นจุดเริ่มต้น HCI ของ Cisco ได้เลย
– ปล่อย Modular Smart Storage Server เพื่อสามารถจัดเก็บ Harddisk ได้หลาย ๆ ลูก ใน UCS S-Series
ปี 2017
– Cisco จับมือกับ Docker เพื่อทำ Container Integration สำหรับ Application-Centric Data center และ Cloud Infrastructure
– ปล่อย UCS generation 5 หรือ UCS M5
– ปล่อย Cisco Intersight ซึ่งเป็น Software as a service อยู่บน Cloud ของ Cisco เราสามารถ Monitor และบริหารจัดการทั้ง HyperFlex, UCS Server, Fabric Interconnect, ได้จาก Cisco Intersight
ปี 2018
– ปล่อย Multinode rack server โดยใช้ Processor ของ AMD EPYC ในตลาด สำหรับงาน Workload แบบ Analytics
– ปล่อย HyperFlex สำหรับ Multicloud
– Cisco ผลิตสวิตช์ที่มี speed ความเร็ว 100-Gbps fabric interconnects มาเพื่อใช้งานใน Datacenter ซึ่ง FI หรือสวิตช์นี้สามารถรองรับความเร็วได้ทั้ง 10G, 25G, 40G และ 100Gbps ซึ่งจะทำให้ Datacenter ปราศจากคอขวด (Bottlenecks)
– ปล่อย AI/ML optimized server แรกสำหรับงาน AI (Artificial Intelligence) และ ML (Machine Learning)
ปี 2019
– HyperFlex Edge สามารถเริ่มต้นที่ 2 โหนดได้ รองรับ 1G, 10Gbps ง่ายในการบริหารจัดการ และ Deploy ได้รวดเร็ว
– HyperFlex รองรับ NVMe เหมาะกับงานที่ต้องการใช้ iop เยอะ ๆ ความเร็วที่ดี
– ได้รับการบันทึกในการทำ Benchmarks เป็น 7 New world records เช่น Top Java middleware performance, Fastest integer and floating point performance, Record-setting big data analytics results เป็นต้น
และนี่เป็น 10 ปีของ Cisco UCS Server ครับ ทาง AbleNet แสดงความยินดีกับ Cisco และทีม Datacenter ทั้งยอดขายและเทคโนโลยีที่เติบโตขึ้นทุก ๆ ปีด้วยนะครับ