
ในการคอนฟิกอุปกรณ์ Cisco Switch หลายครั้งบางคนมองว่าอาจจะเป็นขั้นตอนที่ยุ่งยาก จำเป็นต้องรู้จักคำสั่งต่างๆ ก่อนจึงจะสามารถคอนฟิกได้ แต่ในความเป็นจริงแล้ว อุปกรณ์ Switch ถูกออกแบบมาให้สามารถใช้งานได้ง่าย และไม่ซับซ้อน แต่หากต้องการดึงประสิทธิภาพการใช้งานสูงสุดออกมา ต้องมีความรู้เพิ่มเติมนะครับ เช่นต้องไปอ่านหนังสือ สอบ CCNA จึงจะสามารถใช้งานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ แต่ในบทความนี้ แสดงวิธีการคอนฟิกอุปกรณ์ Switch เบื้องต้น ที่ส่วนใหญ่คอนฟิกกัน และจะสามารถตั้งค่าการใช้งานอุปกรณ์ Switch ให้ใช้งานได้อย่างอย่างแน่นอนครับ
0. สำหรับคนที่ยังไม่มีสายคอนโซล หาซื้อสายคอนโซลก่อนนะครับ สามารถช้อปปิ้งจากช่องทางออนไลน์ได้เลยครับ
แนะนำให้ซื้อเป็นแบบ RJ45 to USB-A หรือแบบ USB-A to Mini USB นะครับ จะสามารถใช้งานได้เลย ไม่ต้องซื้อตัวแปลงอีกที (แต่ถ้าเป็นอุปกรณ์รุ่นเก่าๆ ต้องเชคก่อนนะครับ ว่ามีพอร์ทคอนโซลแบบ Mini USB ไหม ถ้าไม่มีก็ซื้อแบบ USB-A ครับ)
1. Download program สำหรับเชื่อมต่อเข้าไปที่ Serial port ของอุปกรณ์ Switch
ผมแนะนำให้ใช้เป็นโปรแกรม MobaXterm นะครับ เป็นโปรแกรมที่ใช้งานง่าย GUI ดูสวย เท่ และฟีเจอร์การใช้งานเรียกได้วาถูกออกแบบมาเพื่อการใช้งานสำหรับการคอนฟิกอุปกรณ์ Network อย่างแท้จริงเลยครับ และที่สำคัญ เป็นโปรแกรมที่สามารถใช้งานได้ฟรีด้วยครับ สามารถ เข้าไปดาวโหลดกันได้ จากลิ้งด้านล่างเลยครับ
https://mobaxterm.mobatek.net/download.html
2. เชื่อมต่อคอมพิวเตอร์ เข้ากับ Serial port ของ Switch
3. เปิดโปรแกรม MobaXterm และเลือกโปรโตคอลในการเชื่อมต่อแบบ Serial
หลังจากเชื่อมต่อเข้าไป switch ได้สำเร็จ ระบบจะแสดงคำสั่งบนหน้าจอเป็นดังนี้
Switch>
Switch>
Switch>
4. เข้าไปที่ Privileged EXEC Mode และตั้งค่า Host name
Switch> Enable
Switch# Config terminal
Switch(config)# hostname ACCSW01
ACCSW01(config)#
5. สร้าง Username และ Password สำหรับการเข้ามาใช้งานผ่าน Telnet หรือ SSH
ACCSW01> Enable
ACCSW01# Config terminal
ACCSW01(config)# username cisco privilege 15 secret cisco123
** cisco คือ Username, cisco123 คือ password สามารถเปลี่ยนได้เลย
6. ตั้งค่าการใช้งาน Telnet/SSH
ACCSW01> Enable
ACCSW01# Config terminal
ACCSW01(config)# line vty 0 4
ACCSW01(config-line)# login local
ACCSW01(config-line)# transport input all
** ALL = Enable SSH+TELNET สามารถเปลี่ยนเป็น SSH หรือ Telnet อย่างใดอย่างหนึ่งได้
7. ตั้งค่า Management IP
ในบทความนี้เป็นการคอนฟิกอย่างง่าย ขอใช้ VLAN1 ในการเข้ามา Manage นะครับ
ACCSW01> Enable
ACCSW01# Config terminal
ACCSW01(config)# interface vlan 1
ACCSW01(config-if)# ip address 192.168.10.10 255.255.255.0
8. ตั้งค่า Default gateway
Default gateway ให้ชี้ไปที่ตัว Gateway ที่อยู่บน Router หรือ Core switch นะครับ
ACCSW01(config)# ip default-gateway 192.168.10.10
9. บันทึกการตั้งค่า
ACCSW01# write memory
การตั้งค่า เบื้องต้นอยู่ในขั้นตอน 1-9 นะครับ ในขั้นตอนถัดไปจะเป็นการสร้าง VLAN , Access vlan และ Trunk port ในกรณีที่มีการใช้งาน VLAN บน อุปกรณ์ Switch ครับ
10. สร้าง VLAN
สร้างเป็นตัวอย่าง 2 VLAN
VLAN10 : Staff
VLAN20 : Guest
ACCSW01> Enable
ACCSW01# Config terminal
ACCSW0(config) vlan 10
ACCSW0(config-vlan) name Staff
ACCSW0(config) vlan 20
ACCSW0(config-vlan) name Guest
11. กำหนด VLAN ไปที่ switch ports
ในตัวอย่างจะคอนฟิกให้
Port1-2 เป็น VLAN10 (ใช้การคอนฟิกแบบครั้งละ port)
Port 3-12 เป็น VLAN20 (ใช้การคอนฟิกแบบหลายๆ port – > Interface range)
ACCSW01> Enable
ACCSW01# Config terminal
ACCSW0(config) interface gi1/0/1
ACCSW0(config-if) description ### Link to IT Computer ###
ACCSW0(config-if) switchport mode access
ACCSW0(config-if) switchport access vlan 10
ACCSW0(config) interface gi1/0/2
ACCSW0(config-if) description ### Link to CEO Computer ###
ACCSW0(config-if) switchport mode access
ACCSW0(config-if) switchport access vlan 10
ACCSW0(config) interface range gi1/0/3-12
ACCSW0(config-if) description ### Link to Guest client ###
ACCSW0(config-if) switchport mode access
ACCSW0(config-if) switchport access vlan 20
12. การตั้งค่า Trunk port
Trunk port จะใช้สำหรับการเชื่อมต่อระหว่างอุปกรณ์ Switch กับ Switch (หรือ Switch กับ Router – route on stick ) เพื่อให้ port นั้นๆ สามารถขนได้หลายๆ VLAN
ACCSW01# Config terminal
ACCSW0(config) interface gi1/0/24
ACCSW0(config-if) description ### Link to CORE Switch Floor3 port Gi1/0/1 ###
ACCSW0(config-if) switchport mode trunk