วันนี้จะมาพูดถึงเทคโนโลยี Collaboration ใหม่ ๆ ในตลาดนะครับ ซึ่งแนวโน้มของ Trend ก็จะลู่ไปทางนี้ครับ โดยขออนุญาตเน้นไปที่อุปกรณ์ของซิสโก้ครับ
บริษัทซิสโก้เป็นผู้นำทางการตลาด Unified Communication (UC) ภายหลังได้เปลี่ยนชื่อมาเป็น Cisco Collaboration ซึ่งได้ทำตลาดด้านนี้มาแล้วกว่า 15 ปี ตั้งแต่ Cisco CallManager version 1 จนถึง Cisco CallManager version 5 ที่เป็น Windows Base หลังจากนั้นได้เปลี่ยนเป็น Appliance (โดย Appliance นี้สามารถเลือกซื้อได้ว่าจะเป็น Server ในตระกูลยี่ห้อใด ซึ่งซิสโก้ได้จับไม้ จับมือกันกับ 2 ยี่ห้อในตลาดคือ IBM และ HP) โดยที่ run อยู่บน Linux OS จนถึง CallManager version 8.x เป็นต้นไป และใน version นี้เองซิสโก้อนุญาตให้สามารถนำมา run บน VMware หรือ Virtual Server ได้ หรือเรียกว่า UC on VM และภายหลังได้เปลี่ยนชื่อจาก Cisco CallManager เป็น Cisco Unified Communication Manager (CUCM) จนกระทั่งถึงทุกวันนี้เป็น version 11.5
ผมเกริ่นนำเรื่องของตลาด Cisco Collaboration เพื่อให้เห็นภาพใหญ่กันไปแล้วนะครับ หลังจากที่ CUCM ออกมาพักใหญ่ ซิสโก้ได้พัฒนา Cisco Collaboration Cloud ขึ้น นั้นก็คือ Cisco Spark นั่นเอง ซึ่ง Cisco Spark เป็นบริการ Cloud Collaboration เพื่อให้ทางองค์กรใช้ในการส่งข้อความ ไม่ว่าจะเป็นข้อความในรูปแบบ ภาพ, เสียง หรือวิดีโอ รวมถึงสามารถโทรหากันและใช้ประชุมร่วมกันได้ อีกทั้งคนที่คุ้นเคยกับการใช้งาน Cisco WebEx ก็สามารถ Integrate เข้ามาอยู่ใน Cisco Cloud ทำงานร่วมกันกับ Spark ได้เช่นกัน
ขอคั่นช่วงด้วยกันอธิบายศัพท์เทคนิคบางอย่างนะครับ ศัพท์ที่ใช้งานทั่ว ๆ ไป ในการ Deploy อุปกรณ์เพื่อใช้งานมี 2 แบบนะครับ
1.On Premise คืออุปกรณ์จะถูก Deploy ไว้ที่ Site งานของทางองค์กรนั้น ๆ เลย เช่น CUCM Server, Storage, UPS ต่าง ๆ มี Rack อยู่ในห้อง Server และมีสิทธิ์ในความเป็นเจ้าของ 100% สามารถดูแลแก้ไขได้ด้วยตัวเอง ค่าน้ำไฟ ค่าแอร์ ค่า Maintenance ก็ดูแลกันเองไป
2.On Cloud ทางองค์กรสามารถซื้อ Service ที่ไปเก็บข้อมูล หรือ Application ต่าง ๆ ฝากไว้กับทางผู้ให้บริการ ซึ่งมี Server, Storage, UPS รวมไปถึงการทำ HA, Backup ต่าง ๆ ไว้ให้เราได้ เพียงเราแค่เสียค่าใช้จ่ายในการเช่า ขอย้ำว่าเป็นแค่การเช่านะครับ ไม่ใช่ซื้อ เพราะฉะนั้นเวลาซื้อ Cloud เราจะมีค่าใช้จ่ายเป็นรายเดือน รายไตรมาส หรือรายปี ก็แล้วแต่จะเจรจาตกลงกับทางผู้ให้บริการครับ เช่น เราซื้อ Cisco Spark Service กับทางซิสโก้ เราไม่จำเป็นต้องวาง Server ที่ Site เรา แต่ซิสโก้จะเป็นผู้ให้บริการตามข้อตกลงและเงินที่เราจ่ายเป็นค่า Subscription ไปนั่นเอง
กลับมาสู่บทความอีกครั้งนะครับ เหตุผลที่ซิสโก้พัฒนา Cloud ของตนเองมาเนื่องจากวิจัยจากหลาย ๆ สำนัก ได้บอกไว้ว่าในปี 2020 นี้ ผู้ใช้งานในโลกนี้จะไปสู่ Cloud กันมากขึ้นถึง 78% กันเลยทีเดียว เนื่องจากมีความง่าย, ความปลอดภัยของข้อมูล และตรงตามความต้องการ เรียกได้ว่ามีทั้ง Simple, Secure และ Complete ด้วยเหตุนี้เอง ซิสโก้เลยหมายมั่นปั้นมือมากสำหรับการพัฒนา Cloud Collaboration ซึ่งเราจะเห็นได้จากการที่ซิสโก้ได้ซื้อกิจการของบริษัทต่าง ๆ (Acquire) เช่น Worklife, Synata, MindMeld ซึ่งเป็นมูลค่าหลายร้อยล้านเหรียญ US Dollar เลยทีเดียว เพื่อมาช่วยประสานและ Boost ให้ Cisco Spark ออกมาอย่างสมบูรณ์มากที่สุด
Cisco Spark จะมี Feature หรือ คุณสมบัติหลักอยู่ 3 อย่างคือ
1.Message จะใช้สำหรับส่งข้อความ ไม่ว่าจะเป็น Mobile Device, Desktop หรือ Web Application สามารถส่งเป็นรูปแบบไฟล์เสียง, วิดีโอ แบบ 1:1 หรือ 1: กลุ่มได้
2.Meeting ใช้สำหรับประชุมทั้ง Audio, Video และ Web Meeting ได้ โดยแยกเป็น option ดังนี้
2.1 Plus Meeting (M1) ทำ Instant Meeting ได้ และสามารถทำ Meeting ได้พร้อมกัน 3 คน
2.2 Advanced Meeting (M2) ทำ Instant Meeting ได้ และได้ทั้งหมด 25 คนที่เข้าประชุมพร้อมกัน
2.3 Premium Meeting (M3) สามารถทำ WebEx Conference และรองรับคนได้สูงสุดที่ 200 คนต่อการประชุม
Bandwidth ที่ใช้ในการ Meeting
– สำหรับการส่งและรับวิดีโอที่ 720p30 = 3,000 kbps
– สำหรับการส่งและรับ Content ที่ 1080p5 = 1,500 kbps
– Total = 1,950 – 4,500 kbps
การส่งข้อมูลหรือ Presentation Content สามารถส่งผ่านทาง Spark Proximity โดยใช้ Ultrasonic ความถี่ในช่วง 20 kHz-22 kHz ในการ pair ระหว่าง phone หรือ Tablet ไปยัง Spark Room System ได้
3.Call สามารถทำการ Call ไปยังอุปกรณ์ในองค์กรของเราได้ โดยบริหารให้แต่ละอุปกรณ์มีเบอร์ Extension ภายใน ซึ่งใช้การ register ผ่าน Spark Cloud โดยการใส่ 16 Digit ได้ ซึ่ง IP Phone ที่รองรับ Spark OS ได้แก่รุ่น 78xx และ 88xx Series โดยเฉพาะในรุ่น 8845, 8865 สามารถ scan QR Code จาก Cloud Collaboration Management เพื่อทำการรับเบอร์โทรภายในได้เลย เพราะมีกล้องอยู่ด้านหน้า IP Phone ด้วย สามารถดูวิดีโอสาธิตได้จาก YouTube ด้านล่างนี้ครับ
ในส่วนของ Bandwidth ที่ใช้ในการ Call เพราะอาจจะมีคำถามมากันเยอะนะครับ หากเป็น Video leg จะใช้ 2 Mbps ส่วน Audio leg จะใช้ 92 kbps
Spark Call สามารถ Integrate เข้ากับ PSTN ได้ด้วย โดยเชื่อมต่อเข้ากับ PSTN Service Provider เช่น TATA Communications, IntelePeer, Think Tel เราจะได้ SIP number ภายนอกมา และสามารถ Call ออกไปยังเบอร์ PSTN ในประเทศได้อีกด้วย
การบริหารและดูแลทั้งหมดจะอยู่ที่ Cisco Cloud Collaboration Management ซึ่งจะเป็น Portal ในการสร้าง Organization ขึ้นมา สามารถทำ Custom Branding เป็นของเราเองได้ด้วยเช่นกัน
จะเห็นได้ว่า Spark สามารถช่วยให้เราสะดวกมากยิ่งขึ้น สำหรับองค์กรที่ต้องการไป Cloud ไม่ต้องการการดูแลระบบที่ซับซ้อน ไม่ต้องการจ่ายค่าดูแลและสูญเสีย Space ในการวาง Rack ต่าง ๆ ตัวของ Cisco Spark เองก็ตอบโจทย์ในจุด ๆ นี้ได้ หากลูกค้าท่านไหนสนใจให้เราทำ POC (Proof of Concept) ก็สามารถติดต่อมาได้นะครับ ทางบริษัทได้มี Certificate และได้รับการแต่งตั้งเป็น Cisco Cloud Partner เพื่อสามารถ Implement ระบบนี้ช่วยทางพาร์ตเนอร์และลูกค้าให้สามารถใช้ระบบได้เต็มประสิทธิภาพได้ครับ