ในทุกวันนี้มีการพูดคุยถึงการทำดาต้าเซ้นเตอร์กันอย่างแพร่หลาย มีการทำระบบคราวด์ (Cloud) ในองค์กรเราเอง โดยการเปลี่ยนแปลง Physical Server ไปเป็น Virtualization Server เพื่อช่วยให้ใช้งาน Hardware ได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ คุ้มกับเงินที่ได้ลงทุนไป ทำให้ตลาด Virtualization มีการเติบโตขึ้นอย่างรวดเร็ว และทำให้มีความต้องการพื้นที่ในการจัดเก็บข้อมูลเพิ่มมากขึ้นตามไปด้วย องค์กรทั่วไปต้องมีการซื้อ Storage เพิ่มเพื่อมาทำการเก็บข้อมูล แต่สิ่งที่ตามมาคือเมื่อซื้ออุปกรณ์เหล่านี้แล้วเราต้องขยายเรื่องพื้นที่ของ Rack รวมไปถึง UPS และ Cooling ระบบแอร์ด้วย ทำให้มีเทคโนโลยีหลาย ๆ เทคโนโลยีพยายามเข้ามาแทนที่การใช้งาน Server และ Storage ที่แยกขาดจากกัน เราเรียกระบบนี้ว่าระบบไฮเปอร์คอนเวิร์จ (Hyper-Convergence) ซึ่งได้เริ่มมีการพูดถึงกันในปัจจุบันมากยิ่งขึ้น โดยมีหลาย ๆ ยี่ห้อพยายามกระโดดเข้ามาแข่งขันกันในตลาดนี้ หลายท่านเข้าใจและรู้จัก Hyper-Converged กันเป็นอย่างดีอยู่แล้ว แต่ก็อาจจะมีบางท่านยังไม่คุ้นหู หรืออาจจะเคยได้ยิน แต่ก็ไม่ทราบว่ามันเป็นอย่างไร และทำงานอย่างไรบ้าง ผมเลยอยากจะเกริ่นให้อ่านเบื้องต้นกันก่อนนะครับ
ไฮเปอร์คอนเวิร์จคืออะไร
ไฮเปอร์คอนเวิร์จ เป็นระบบที่ใช้ซอฟท์แวร์ในการทำงานรวมฟีเจอร์ (Features) ต่าง ๆ เข้าด้วยกัน ซึ่งในบางครั้งเราเรียกว่า Hyperconverged Software เช่น Server, Storage เชื่อมต่อเข้ากับ Network อยู่ภายใต้กลุ่มของ Hardware เดียวกัน และ Virtualization Software ทำให้สามารถลดพื้นที่ภายใน Rack จากเดิมได้มากกว่า 50% เลยทีเดียว หากเมื่อก่อนใช้ Rack จำนวน 2 ตู้ ก็อาจจะเหลือเพียงตู็เดียวก็เป็นไปได้ ไฮเปอร์คอนเวิร์จจะเป็น Single Box หรืออุปกรณ์ชุดเดียวกันที่อยู่บนเซิร์ฟเวอร์ตระกูล X86 rack หรือ Blade ทำงานภายใต้ HCI (Hyper-Convergence) และทำการรวบรวม Server, Storage, Network เข้าด้วยกัน การบริหารจัดการก็ทำได้ง่ายขึ้น ทำงานทดแทนกันได้ การเพิ่มขยาย (Scale out) ฮาร์ดแวร์ก็ทำได้ง่ายขึ้นอีกด้วย
ยี่ห้อไหนบ้างที่ทำตลาดไฮเปอร์คอนเวิร์จ
ความต้องการในตลาดดาต้าเซ็นเตอร์และระบบคราวด์มีสูงมาก จึงทำให้มีโปรดักส์ Hyper-converged เกิดขึ้นมากมายในตลาดปัจจุบัน เช่น
- Cisco HyperFlex
- Nutanix
- EMC-VXRail
- Simplivity
- VMware
ด้านล่างเป็นผู้นำในตลาด ซึ่งได้มาจากกราฟ Quadrant ของ Gartner
จาก Gartner เราจะเห็นได้ว่ามีหลากหลายผู้เล่น หลาย ๆ ยี่ห้อที่กระโดดเข้ามาในตลาดนี้ แต่จะมีแค่บางยี่ห้อเท่านั้นที่อยู่ในช่อง Leader หรือมุมขวาบน ได้แก่ Cisco, EMC, Oracle, Nutanix, NetApp และ HP นอกเหนือจากนี้ก็จะเป็นรายใหม่ ๆ ที่พยายามเข้ามาแข่งขันกัน
แต่วันนี้ผมจะขอกล่าวถึงอุปกรณ์ที่เป็น Leader ในตลาดอย่าง Cisco ซึ่ง Cisco ได้ออกโปรดักส์ Hyper-Converged มาเมื่อประมาณต้นปี 2016 ที่ผ่านมามีชื่อว่า Cisco HyperFlex ซึ่งมีหลาย ๆ โมเดลที่ Cisco ได้ทำออกมา ตามตัวอย่างด้านล่างนี้ หน้าตามันคือ UCS ดี ๆ นี่เอง แต่ใส่หน้ากากใหม่ไปแล้วแปะคำว่า “HyperFlex” รวมถึง Built-in ตัว Software Platform ของ Cisco เอง คือ HX Platform (ถูกพัฒนาร่วมกับทาง Software ที่ชื่อว่า Springpath ซึ่งเป็น Hyperconvergence Software) พร้อมทั้งตัว Networking ของ Cisco คือ Fabric Interconnect ที่รองรับความเร็ว 10Gbps , 40Gbps ได้
- Cisco HyperFlex HX220c M4 with all flash node
- Cisco HyperFlex HX240c M4 with all flash node
- Cisco HyperFlex HX220c M4 node
- Cisco HyperFlex HX240c M4 node
และในปี 2017 Cisco ได้เปิดตัว HyperFlex 2.0 ซึ่งเป็น All Flash รองรับ IOPS สูงมากขึ้นถึง 6 เท่า และมี Latency น้อยลง 80% ทำให้สามารถรองรับงานที่มี Workload เยอะ ๆ หรืองาน Database ขนาดใหญ่ได้อย่างสบาย, VDI (Virtual Desktop Infrastructure) และเหมาะสำหรับงานที่เป็น Virtualization เป็นต้น
ในเมืองไทยก็ได้มีการ Deploy HyperFlex ไปในหลาย ๆ ไซต์งานแล้วเช่นเดียวกันทั้งหน่วยงานราชการ หน่วยงานการศึกษา หรือแม้กระทั่งหน่วยงานเอกชน ที่เป็นโรงแรม ระบบ Cisco HyperFlex HX-Series เป็นการรวมระบบคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์จัดเก็บข้อมูล และระบบเครือข่ายเข้าเป็นระบบที่ง่ายต่อการใช้งาน เพื่ออีกขั้นของความเร็วและประสิทธิภาพของไอที ซึ่งทางลูกค้าเหล่านี้ได้เห็นประโยชน์จากการใช้งาน HyperFlex อย่างมากมาย ยกตัวอย่างเช่น
ระบบ Hyperconvergence ที่สมบูรณ์แบบ
ระบบ Hyperflex รวมเครือข่ายแฟบริคและเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์เข้ากับแพลตฟอร์มข้อมูลยุคใหม่
การปรับขยายที่ยืดหยุ่น
ปรับขนาดระบบคอมพิวเตอร์ ความจุ และแคชอย่างอิสระในคลัสเตอร์ HyperFlex เพื่อให้เข้ากับความต้องการของธุรกิจได้อย่างรวดเร็ว บริหารจัดการ Data ได้อย่างง่ายดาย รองรับการทำ Provisioning, Cloning และ Snapshot
ปรับปรุงการใช้ข้อมูลให้เหมาะสมที่สุดอย่างต่อเนื่อง
เพิ่มการใช้ความจุโดยไม่ลดทอนประสิทธิภาพด้วยการบีบอัดและการขจัดข้อมูลซ้ำซ้อนแบบอินไลน์ของ HyperFlex นั่นคือการทำ Inline Compression และการทำ Inline Data Deduplication แบบอินไลน์นั่นเอง
แอพพลิเคชันเกิดใหม่
สนับสนุนแอพพลิเคชันองค์กรในปัจจุบันและเวิร์กโหลดของคลาวด์แบบใหม่ด้วยซอฟต์แวร์ HyperFlex HX Data Platform ของ Cisco
อีกทั้งเรื่องของการติดตั้งใช้งานได้ภายในไม่กี่นาที จากเมื่อก่อนต้องติดตั้งทั้ง Network, Sever และ Storage ซึ่งกินเวลาเป็นชั่วโมง หรืออาจจะเป็นวัน ๆ เลยก็เป็นไปได้ HyperFlex ทำให้ย่นระยะเวลาเหล่านั้นลงได้ ตาม YouTube เปิดตัวของ Cisco HyperFlex ด้านล่างนี้นั่นเอง
ผมใช้เวลาประมาณ 3 ชั่วโมงในการเขียนบทความนี้ขึ้นมาเพื่อเป็นประโยชน์สำหรับผู้อ่าน และผู้สนใจในเทคโนโลยีไฮเปอร์คอนเวิร์จ และสำหรับบทความฉบับนี้ก็ขอจบเพียงเท่านี้ก่อนนะครับ สามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้จาก www.cisco.com/c/th_th/products/hyperconverged-infrastructure/index.html