
Access Point รุ่นไหน จำนวนเท่าไร ในแต่ละตึก?
สำหรับเจ้าของสถานที่, ฝ่ายไอที หรือ Presale Engineer คงหนีไม่พ้นกับคำถามที่ว่า ต้องใช้จำนวน Access Point รุ่นไหน กี่ตัว เท่าไรถึงจะได้ Coverage ของสัญญาณเพียงพอในการใช้งานทั้งหมดในตึกนี้?
ปัจจุบันการออกแบบระบบ Wireless LAN เรียกได้ว่าเป็น Trend ที่ต้องมีในทุก ๆ สำนักงานเลยก็ว่าได้ เนื่องจากความเร็วของ Wireless LAN มีการพัฒนาไปกว่า 1 Gbps ไปแล้ว โดยเฉพาะใน WiFi6 ความเร็วสูงถึง 9.6Gbps จะเห็นได้ว่าความเร็วที่เราใช้ผ่านอากาศที่มองไม่เห็น มันถ่ายเทและขนย้ายข้อมูลได้เร็ว และ copy ข้อมูลได้เสร็จก่อนสาย UTP หรือ LAN ปกติที่วิ่งผ่านอุปกรณ์กระจายสัญญาณในระดับ 1Gbps ซะอีกครับ
ในอาคาร และสำนักงานบางแห่งจึงลากสาย LAN เพียงแค่อุปกรณ์ PC หรือคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล และโทรศัพท์แบบไอพีเท่านั้น และเน้นไปให้ความสำคัญของการใช้งาน Wireless LAN มากยิ่งขึ้น บทความนี้จึงแนะนำถึงเรื่องการออกแบบคร่าว ๆ (แบบไม่นั่งเทียน) ว่าเมื่อเราไป Site Survey หรือสำรวจสถานที่มาแล้ว ควรจะใช้จำนวนของ Access Point รุ่นไหน จำนวนเท่าไหร่ ถึงจะเหมาะสมครับ
ในความเป็นจริง เราควรจะใช้อุปกรณ์รุ่นนั้นไปทำการสำรวจ และ mark จุดต่าง ๆ ในอาคารไว้ รวมถึงโน๊ตในเรื่องของวัสดุที่เป็นสภาพแวดล้อมต่าง ๆ ไว้ด้วย เช่น หน้าต่างเป็นกระจกแบบไหน ประตูเป็นอย่างไร ไม้หนาหรือเปล่า กำแพงเป็นคอนกรีตหรือผนังเบา เป็นต้น จะทำให้เราสามารถเก็บข้อมูลเหล่านี้มาทำเป็นรายงาน (Report Proposal) เพื่อนำเสนอให้กับทางผู้บริหาร หรือเจ้าของอาคารสถานที่นั้นได้ครับ
Cisco มีเครื่องมือที่เราสามารถนำมาใช้งานในการทำ Planning และ Proposal ได้ ซึ่งก็คือ Cisco Prime Infrastructure นั่นเองครับ ในการทำ Planning เราสามารถเลือก AP ในแบบ Manual หรือ Auto ก็ได้ ในบทความนี้เราจะกล่าวถึงรูปแบบของ Auto นะครับ เพราะผมเชื่อว่า Manual ไม่ได้ยากมาก หากเราเข้าใจวิธีการทำแบบ Auto แล้ว วิธี Manual นี่สบายมากครับ ?
เราไปดูวิธีการใช้งาน Planning Mode บน Cisco Prime ด้วยกันเลยครับ ซึ่ง Prime ที่ใช้ในการแบ่งปันบทความนี้เป็น Prime version 3.10 นะครับ หากใครยังไม่มีก็สามารถไป download ไฟล์ OVA ที่ Link นี้ได้เลยครับ https://software.cisco.com/download/home/286329246/type/284272932/release/3.10.0
เมื่อดาวน์โหลดไฟล์ OVA มาแล้วก็นำไปลงบน VMware ของเราได้นะครับ โดยทาง Cisco อนุญาตให้เราใช้งานในรูปแบบ Trial ได้ 60 วันครับ หลังจากนั้นต้องไปซื้อ License จากทาง Cisco ต่อครับ ?
1. เปิดโปรแกรม Cisco Prime 3.10 และเลือกไปที่ Maps>Site Maps (New!)
2. เมื่อเข้ามาใน Site Maps แล้ว เนื่องจาก Default ของ Cisco Prime หน่วยวัดจะเป็นฟุต ผมแนะนำว่า ให้เราทำการเปลี่ยนหน่วยวัดจาก Feet เป็น Meters ตามภาพด้านล่างนี้ โดยเลือกไปที่รูปเฟืองด้านมุมขวา แล้วไปที่เมนู Units of Measures เมื่อเปลี่ยนเป็น Meters เสร็จเรียบร้อยแล้วให้ทำการสร้าง Site ใหม่ขึ้น เช่นเราไปสำรวจที่อาคารสำนักงานหลังใหม่ของเราก็เลือกไปที่ Add Site ใหม่ของเราในเมนูทางด้านขวาครับ
3. สร้าง Site ใหม่ โดยตั้งชื่อ Site Name, Contact และทำการเลือก Latitude, Longtitude ให้ตรงกับ Google Map โดยเราสามารถใช้เมาส์ลากไปในตำแหน่งที่ถูกต้องได้เช่นกัน รวมไปถึงกำหนดขนาดพื้นที่ Site ทั้งหมดของเรา (ไม่ใช่เฉพาะตัวอาคารนะครับ) รวมพื้นที่ภายนอก บริเวณตัวไซต์ของเราทั้งหมด เพราะอาจจะมีสระว่ายน้ำ สนามเด็กเล่น พื้นที่โล่งสำหรับจัดสวน พื้นที่จอดรถ เป็นต้น เมื่อเสร็จแล้วให้กดปุ่ม Save ไปครับ
4. เมื่อเราสร้าง Site เราเรียบร้อยแล้วให้ ให้เราสร้าง Building หรือตัวอาคาร เพิ่มขึ้นใน Site ของเราครับ โดยทำการคลิ๊กที่ปุ่ม Add Building นะครับ (จะมีทั้ง Building และ Outdoor) ณ บทความนี้จะเน้นภายในตัวตึกนะครับ เมื่อคลิ๊กแล้วก็ทำการกรอกข้อมูลรายละเอียดรวมถึงขนาดของอาคาร กว้าง x ยาว ให้ Match กับ Site ที่เราสร้างขึ้นมา อาจจะเล็กกว่าเนื่องจากพื้นที่ส่วนอื่น ๆ อาจจะเป็นสิ่งแวดล้อมภายนอกครับ
5. เราทำการ Scope รายละเอียดให้เล็กย่อยลงไปอีกนะครับ โดยทำการ Add Floor ใน Building โดยการกดปุ่ม Add Floor ด้านมุมขวาบน ภายใต้ Site>Building ของเรานะครับ
6. กรอกข้อมูล Floor ของเราไปนะครับ จากตัวอย่างด้านล่าง ใส่ชื่อเป็นชื่อ Floor นั้น ๆ เลยนะครับ ซึ่งจะทำที่ Floor 2 เลยเลือก Floor Number เป็น 2 นะครับ และกำหนดว่าความสูงของ Floor เป็นเท่าไหร่ และห้องเป็นรูปแบบไหนนะครับ เช่น เป็นกำแพงก่ออิฐ เป็นต้นครับ ข้อมูลเหล่านี้เราได้มาจากการ Site Survey หน้างานทั้งหมดนะครับ รวมไปถึงสามารถ Add Floor Plan และกำหนดขนาดของ Floor ตามตัวอย่างด้านล่างได้ครับ
เมื่อเสร็จแล้ว กด Save จะได้ตามตัวอย่างรูป Floor2 ด้านล่างนี้ครับ ทวนอีกครั้งนะครับ เราต้อง Add Site > Add Building > Add Floor ตามลำดับนี้นะครับ จากภาพที่เห็นก็จะเป็น Site AbleNet > Office > Floor 2
7. เมื่อเข้ามาใน Floor 2 เรียบร้อยแล้ว เราจะไปยังเมนู Edit และเลือกไปยัง Add Obstacles เพื่อจะทำให้ Prime รู้ว่าใน Floor Plan ส่วนไหนคือวัสดุประเภทไหน เช่น ผนังหนา คอนกรีต ผนังเบา กระจก ประตูไม้หนา เป็นต้น ตามภาพด้านล่าง เราสามารถเลือกและทำการลากเส้นในแต่ละส่วน แต่ละพื้นที่ได้ โดยการลากนั้นจะได้มาจากการ Site Survey พื้นที่ และทราบว่าอุปกรณ์ วัสดุเหล่านั้นเป็นแบบไหน ยังไง การลากเราจะทำการคลิ๊กซ้าย 1 ครั้ง และลากเมื่อต้องการจบหรือถึงจุดสิ้นสุดก็ทำการดับเบิ้ลคลิ๊กเพื่อทำการหยุดนั่นเองครับ
เมื่อเสร็จเรียบร้อยแล้วก็จะได้รูปสีต่าง ๆ ตามเส้นด้านล่าง แนะนำว่าพยายามลากให้ตรงมากที่สุด ละเอียดมากเท่าไหร่ก็ยิ่งดีเท่านั้น สัญญาณ Heat Map เมื่อเวลาเราวาง AP ลงไปก็จะได้แม่นยำมากขึ้นครับ ด้านล่างจะเห็นได้ว่ามีสีที่แตกต่างกันตามวัสดุครับ
8. กดปุ่ม Planning Mode เพื่อเข้าไปยังโหมดของการวาง Access Point แบบ Auto โดยให้ Cisco Prime คำนวณจำนวนของ Access Point ทั้งหมดตามขนาด Floor ที่เรากำหนดมาแล้ว หรือเราสามารถเลือก Set Scale เพื่อที่จะกำหนดขนาดสเกลให้เท่ากันกับขนาดจริง หรือใกล้เคียงมากที่สุด
เราสามารถปรับขนาดของเส้นสีฟ้าให้ครอบคลุมพื้นที่ของ Floor 2 ทั้งหมด เพื่อบอก Cisco Prime ให้ทำการวาง APs ภายในกรอบสีฟ้าที่กำหนดไว้ได้ และทำการกดปุ่ม Add APs ตามรูปด้านล่างนี้
9.เลือกรุ่นของ AP ที่เราต้องการจะวาง หรือเราได้ Site Survey มาแล้ว แบบ Add APs ในโหมด Automatic
Check box ที่ Enable 11n Support รวมไปถึง Optimize for High Throughput และ Data/Coverage, Voice เพื่อที่จะให้บอกว่าเราต้องการนำไปใช้กับทั้ง Data และ Voice เผื่อเรื่องของการใช้งาน Audio Call กันผ่าน Line, Messenger หรือ WiFi IP Phone นั่นเองครับ
10. เมื่อเสร็จแล้วทำการกดปุ่ม Calculate เพื่อคำนวณ จะเห็นได้ว่า AP ที่ Prime คำนวณและแนะนำมาให้เป็นทั้งหมด 10 ตัว โดยหากใช้เฉพาะ Data อย่างเดียวจะใช้จำนวน AP รุ่น AP9115I เพียงแค่ 8 ตัวเท่านั้น แต่หากเราใช้ Voice ด้วยจำนวน AP จะเพิ่มขึ้นเป็น 10 ตัวนั่นเองครับ จากนั้นให้กดปุ่ม Add to Map
11. ในหน้า Map เราสามารถเลือกสัญญาณ 2.4GHz หรือ 5GHz ก็ได้ ปกติผมจะเลือกเป็น 5GHz ไว้ เพราะปัจจุบัน อุปกรณ์ส่วนใหญ่สามารถรองรับสัญญาณ 5 GHz ได้แล้ว ภาพด้านล่างเป็น Heat Map ที่มัน Generate ออกมาตาม RSSI Level มุมด้านขวาบน
ด้านล่างเป็น Heat Map ของสัญญาณ 5GHz ซึ่งจะเห็นได้ว่าตำแหน่งอาจจะไม่ได้ตรงตามหน้างานที่เราต้องการมากนัก แต่เราพอจะทราบจำนวนคร่าว ๆ ได้ครับ หรือเราอาจจะไปเปลี่ยนการทำงานจาก Automatic เป็น Manual แล้วทำการวาง AP ด้วยตัวเราเองภายหลังก็ได้เช่นกันครับ ลองกลับไปเล่นดูได้ครับ หลังจากนั้นเราสามารถ Generate รายงาน Proposal เพื่อนำเสนอรวมถึงสรุปต่าง ๆ คร่าว ๆ ได้ครับ
12. เราสามารถเลือก generate proposal ทั้งสัญญาณ 2.4GHz และ 5GHz ได้ตามรูปด้านล่างครับ เมื่อเราได้รายงานออกมาแล้ว ลองไป Review ดูครับว่า เป็นอย่างไรบ้าง ในรายงานจะบอกรายละเอียดของ AP, จำนวน และสัญญาณต่าง ๆ ไว้ครับ
ผมได้ทำการ Upload ตัวอย่างของไฟล์ Proposal ไว้ให้ในนี้แล้วนะครับ AbleNet FL2 AP Placement Proposal.pdf
ถ้าชอบบทความแบบนี้ และมีประโยชน์สำหรับการทำงานของเพื่อน ๆ ก็ฝากแชร์บทความ และกด Like, Share ให้เพื่อน ๆ คนอื่นได้เข้ามาอ่านด้วยกันนะครับ ขอบคุณมากครับ
บทความอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับ WLAN Solutions ตามด้านล่างนี้นะครับ
วิธีการ Bulk Reset APs บน Cisco Wireless Lan Controller
http://www.ablenet.co.th/2023/01/25/how-to-bulk-reset-aps-wlc
การทำงานของ vNIC เมื่อทำการ Deploy Cisco vWLC บน VMware ESXi
http://www.ablenet.co.th/2022/05/31/deploy-vwlc-problem-nic
การ Initial Cisco Connected Mobile Experiences (CMX) configuration
https://www.ablenet.co.th/2021/10/24/init-cmx
การคอนฟิก Cisco ISE 802.1X กับ Catalyst 9800 Wireless Controller Series
http://www.ablenet.co.th/2021/08/31/c9800-ise-802-1x
การติดตั้ง Cisco Wireless LAN Controller C9800-CL
http://www.ablenet.co.th/2021/04/30/install_c9800cl